หน้ากากรามายาณะ และหน้ากากในเอเชีย : ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีการจดบันทึกประวัติศาสตร์ไว้โดยยังปรากฏหลักฐานให้พิสูจน์ทราบได้ แม้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรม ก็จะมีการจัดเก็บอย่างมีระบบระเบียบ ดังนั้นหน้ากากของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงสามารถระบุช่วงเวลาของชิ้นงานได้ ผลงานจัดแสดงหน้ากากญี่ปุ่นของ MOCA เป็นชิ้นงานจากสมัยเอโดะ (ราว ค.ศ. 1600 – 1868) และสมัยเมจิ (ราว ค.ศ. 1868 – 1912) ซึ่งการแสดงละครสวมหน้ากากของญี่ปุ่นมีหลักๆ อยู่ 3 ประเภท เพื่อแสดงในเทศกาลหรืองานฉลองทางศาสนา เช่น การแสดงนามาฮาเงะ (Namahage) ซึ่งเป็นชื่อเรียกดวงวิญญาณที่ชั่วร้าย แสดงในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อให้เด็กๆ ที่เกียจคร้าน ประพฤติตัวไม่ดี ตกใจกลัว และหันมาเปลี่ยนแปลงนิสัยให้เป็นคนดีขึ้น ละครบุกากุ (Bugaku) เป็นละครรำจากราชสำนักที่มีความละเอียดอ่อน ยังคงแสดงอยู่ในพระราชวัง หน้ากากของตัวละครเป็นเรื่องราวของเจ้าชายผู้กล้าหาญ และมีพระปรีชาสามารถมาก เรียกการร่ายรำแบบนี้ว่ารันเรียว (Ranryo) เช่นหน้ากาก Shikami และ Kitoku
ประเภทที่ 2 เรียกว่ากิงากุ (Gigaku) เป็นศิลปะการแสดงของญี่ปุ่นยุคแรกสุดที่มีการบันทึกเอาไว้ และเชื่อกันว่าได้รับการถ่ายทอดมายังญี่ปุ่นจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในสมัยศตวรรษที่ 7 เชื่อกันว่าศิลปะการแสดงนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากอินเดีย ผ่านทางเส้นทางสายไหมมาสู่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี รับรู้ได้ถึงความเกี่ยวโยงระหว่างดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลกันข้ามน้ำข้ามทะเลผ่านหน้ากากไม้เหล่านี้ การแสดงหน้ากากกิงะกุเป็นศิลปะการแสดงโบราณที่สืบทอดกันมาจนถึงปี ค.ศ.1192 หน้ากากส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ภายในพิพิธภัณฑ์รวมทั้งวัดต่างๆ
ส่วนละครโนะ (Nõ) เป็นการแสดงละครประกอบดนตรีที่มีการผสานผสานระหว่างท่าร่ายรำของชนชั้นสูง ร่วมกับการแสดงของชาวบ้าน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโศกนาฎกรรม หรือเรื่องราวของเทพผู้พิทักษ์ เพื่อปราบปรามสิ่งชั่วร้าย เช่นหน้ากาก Hannya หรือยักษ์ผู้หญิง หน้ากากชายแก่ (Hanakobu Akujo) เป็นการแสดงละครหน้ากากที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14
ละครโนะเป็นการแสดงพื้นบ้านวรรณคดีประเภทละครของญี่ปุ่น โดยมีต้นกำเนิดมาจากเพลงสวดและการร่ายรำบูชาเทพเจ้าที่เกิดขึ้นในสมัยมูโรมาจิ (室町時代・Muromachi) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน โนงะคุ เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงดั้งเดิมของชนชั้นสูงชาวญี่ปุ่นที่มีประวัติยาวนานย้อนไปไกลถึงศตวรรษที่ 14 นับเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเก่าแก่และได้รับการอนุรักษ์สืบทอดอย่างต่อเนื่องมาช้านาน กลายมาเป็นภาพลักษณ์สำคัญของศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ยังมีชีวิตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
ตัวละครเอกจะสวมหน้ากากอยู่ตลอดเวลาและไม่เปิดเผยใบหน้าที่แท้จริงโดยเด็ดขาด ส่วนตัวละครรองจะไม่ใส่หน้ากาก การสวมใส่หน้ากากซึ่งมีเพียงแค่รูที่เจาะไว้เล็กๆ ที่ดวงตาเท่านั้น ทำให้เกิดความลำบากในการมองเห็นของผู้แสดง และยังทำให้เป็นการยากที่จะทรงตัว ผู้แสดงที่สวมหน้ากาก จะใช้วิธีมองไปที่เสาต้นใดต้นหนึ่งบนเวทีที่มีเสาอยู่รอบๆ เพื่อใช้กะระยะในการเดิน การทรงตัวอย่างสง่างามและถูกต้องมั่นคง นอกจากนี้การสวมหน้ากากจะทำให้ผู้แสดงไม่สามารถก้มมองปลายเท้าในขณะแสดงได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สมาธิและความชำนาญในการแสดงอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด และเป็นที่มาของการเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงละครโนะ ที่มีความเชื่อมโยงกับแนวคำสอนของลัทธิเซนอย่างแนบแน่นที่เน้นความสงบในจิตใจ รับรู้ และปล่อยวางในกิเลสของมนุษย์
การแสดงละครสวมหน้ากากโน๊ะ ของประเทศญี่ปุ่น
A masked shite actor in the role of a heavenly maiden in the play Hagoromo
Photo by : JUKKA O. MIETTINEN
AKOBUJO MASK (Old Man) (Edo), Noh Theater DEMON GABLE MASK (Showa – Meiji), Shinto Temple DEMON GABLE MASK (Showa – Meiji), Shinto Temple GOD EBISU MASK (Edo), Protector, Shinto Ceremonies HANAKOBU AKUJO MASK (Old Man) (Edo), Noh Theater and Shintoism HANNYA MASK (Female Demon) (Edo - Meiji), Noh Theater HANNYA TEMPLE MASK (Female Demon) (Edo), Shinto KARURA (GARUDA) MASK (Early Edo), Gigaku Dance, Buddhist Ceremonies KITOKU MASK (Hun King) (Meiji), Bagaku Performance (Court Dance) KO-OMOTE MASK (A lovable Girl) (Edo), Noh Theater KOJO MASK (Old Man) (Edo), Noh Theater KOKUSHIKIJO MASK (Black Okina) (Edo), Sanbaso Play MATSUKAZE MASK (Girl) (Edo) Noh Theater OKINA (NIKUSHIKIJYO) MASK (Old Man) (Edo), Noh Theater SHIKAMI MASK (Biting Lion) (Edo), Noh Theater SHIKAMI MASK (Demon) (Meiji), Bugaku Performance SHISHI GASHIRA MASK (Meiji – Edo) Lion Dance, Shinto Festival SHIWAJO MASK (Old Man) (Edo), Noh Theater SHOJO MASK (Heavy Drinker) (Edo), Noh Theater SHUNKAN MASK (Priest) (Meiji) Protector SUSANOUNOMIKOTO MASK (God of Strom) (Meiji), Protector TAKEMINAKATA – NO – KAMI MASK (God of Wind) (Meiji), Protector TENGU MASK (Edo), Sinto Festival YAKAN (Female Demon) (Edo), Noh Theater